มโหรีเป็นลักษณะการประกอบวงดนตรี
ประเภทหนึ่งของชาวไทยสยาม ปรากฏตาม
หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี
และวรรณกรรม อย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัย
กรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา มีการเคลื่อนไหว
พัฒนาทางรูปแบบและวิธีการบรรเลง
มาจนกระทั่งปัจจุบัน

 
หน้าแรก
     ประเภท
         ขนาด
เครื่องดนตรี
 
 
 
 

ที่มา : รังสิต จงฌานสิทโธ.2558,20

  วงมโหรี เป็น วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีผสมทั้งดีด สี ตี เป่า เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเพื่อขับกล่อม ไม่นิยมบรรเลงในการแสดงใด ๆ วงมโหรีแบ่งเป็น ๕ ประเภท คือ
 

๑.วงมโหรีเครื่องสี่ เป็นวงมโหรีที่รวมเอาการบรรเลงพิณและการขับไม้ ซึ่งมีมาแต่โบราณเข้าด้วยกัน เกิดขึ้น
ครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี ๔ ชิ้น คือ 
๑.๑ ทับ (ปัจจุบันเรียกว่า โทน) เป็นเครื่องควบคุมจังหวะ
๑.๒ ซอสามสาย
๑.๓ กระจับปี่
๑.๔ กรับพวง (ผู้ขับร้องเป็นผู้ตีกรับพวง)
วงมโหรีเครื่องสี่นี้เดิมผู้ชายเป็นผู้บรรเลง ต่อมาเมื่อนิยมฟังมโหรีกันแพร่หลาย ผู้มีบรรดาศักดิ์จึงนิยมให้ผู้หญิง
ฝึกหัดบรรเลงบ้างและได้รับความนิยมส
ืบต่อมา 

 
 

วงมโหรีเครื่อง ๔  

 

๒.วงมโหรีเครื่องหก คือ วงมโหรีเครื่องสี่ซึ่งเพิ่มเครื่องดนตรีอีก ๒อย่าง คือ รำมะนา สำหรับตีกำกับ
จังหวะคู่กับทับ และขลุ่ย (ปัจจุบันเรียกว่า ขลุ่ยเพียงออ) สำหรับเป่าดำเนินทำนอง และเปลี่ยนใช้ฉิ่ง
แทนกรับพวง นับเป็นการบรรเลงที่มีเครื่องดนตรีครบทั้งดีด สี ตี และเป่า เกิดขึ้นในตอนปลายสมัยอยุธยา 

 
 
วงมโหรีเครื่อง ๖ 
  ในสมัยต่อมางมโหรีที่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีและเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ครั้งแรกเพิ่มระนาดเอกและฆ้องวง (ภายหลังเรียกว่า ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี) ต่อมาจึงได้เพิ่มซอด้วงและซออู้
ส่วนกระจับปี่นั้นเปลี่ยนเป็นใช้จะเข้แทน เนื่องจากเวลาบรรเลงจะเข้วางราบไปกับพื้น ซึ่งต่างกับกระจับปี่ที่ต้อง ตั้งดีด ทั้งนมที่ใช้รองรับสายและบังคับเสียงของจะเข้ ก็เรียงลำดับมีระยะเหมาะสมกว่ากระจับปี่ เวลาบรรเลง จึงทำให้ใช้นิ้วดีดได้สะดวกและแคล่วคล่องกว่า นอกจากนี้จะเข้ยังสามารถทำเสียงได้ดังและทำเสียงได้ มากกว่ากระจับปี่
 
Next